Route of power แลคติก

เส้นทางการเจ็บป่วย

ตาม ลำดับทรงพลังหรือลำดับการเจ็บป่วย เราได้รู้แล้วว่า ความเจ็บป่วย ไม่ได้อยู่ๆ จะเกิดขึ้นเอง แต่มีลำดับการเกิดของมัน คือ

  1. วิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจเจกของเรา (Life style, Environment factor)
  2. จนบ่อยครั้งทำให้เซลล์ของเราทำงานมากกว่าที่ควรจะเป็น (Cell Overwhelming)
  3. เซลล์และส่วนรอบข้างจำเป็นต้องบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดดุลยภาพของเซลล์ (Cell waste product and pH imbalances)
  4. ฟื้นฟูและพัฒนา ด้วยการสลายของเก่าเพื่อโอกาสในการสร้างสิ่งใหม่ (Repair or Inflammation)

ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเราจะเรียก 4 ขั้นตอนนี้ โดยรวมว่า ความเครียด (Stress)

หากเราได้รับการดูแลที่เหมาะสมแล้ว จะทำให้เกิดการยกระดับของเซลล์และร่างกาย

แต่ในทางตรงข้ามหากไม่สามารถได้รับการดูแลที่เหมาะสมแล้ว เซลล์จะไม่สามารถพัฒนาและฟื้นฟูได้

  1. เซลล์จึงเริ่มเสื่อม เมื่อเซลล์หลายๆเซลล์เสื่อมจนทำให้ตำแหน่งหรืออวัยวะนั้นเสื่อมลง (Cell and organ function impairment)
  2. จนก่อให้เกิดอาการ หรือสามารถตรวจวัดได้อย่างชัดเจน จึงสามารถระบุชื่อสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ได้ (Degenerative diseases)
  3. และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องก็จนส่งผลกระทบต่อส่วนหรือระบบอื่นต่อๆไป (Body overwhelmed by disease)

ซึ่งลำดับที่เกิดขึ้น มันก็จะมีเส้นทางที่เราสามารถตรวจสอบได้ ดังนี้

  1. ประเมินวิถีชีวิต, สิ่งแวดล้อมของเราเอง หรือให้ผู้เชี่ยวชาญ, แพทย์ เป็นผู้ช่วยประเมิน ด้วยการพูดคุย และอาจใช้การตรวจพิเศษบางชนิดเพื่อช่วยประเมิน เช่น ตรวจชนิดอาหารที่อาจก่อนให้เกิดปัญหา, ตรวจร่องรอยผลกระทบต่อสารพันธุกรรม ฯลฯ
  2. ใช้เครื่องมือพิเศษ เพื่อประเมินการทำงานของเซลล์เบื้องต้น เช่น Electro Interstitial Scan (EIS) เป็นต้น
  3. ดูดุลยภาพของเซลล์ ด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น ดูเซลล์เม็ดเลือดด้วยเทคนิค Dark field (โดยทั่วไปเรียกว่า Live Blood Analysis), การตรวจค่าอนุมูลอิสระ, Homocysteine, Apo B/A ฯลฯ
  4. การตรวจค่าการอักเสบ เช่น HsCRP, Ferritin, ESR เป็นต้น

ซึ่งการตรวจทั้งหมดนี้เป็นเพียงการตรวจหรือวิธีเบื้องต้น เพื่อสามารถประเมินเส้นทางที่เกิดขึ้นใน 4 ลำดับแรกเท่านั้น *ไม่สามารถนำมาวินิจฉัยโรคได้* แต่เพื่อเป็นแนวทางให้เราวางแผนการดูแลตัวเองตามวิถีของแต่ละบุคคล

  1. เมื่อเซลล์หรืออวัยวะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไป เราจะสามารถตรวจได้ด้วยการถ่ายภาพด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น X-ray, CT, MRI, Ultrasound หรือการประเมินการทำงานด้วยการดูระดับ Biomarker, ฮอร์โมนต่างๆ, Ankle brachial index (ABI), Exercise stress test (EST) และอื่นๆอีกมาก เพื่อประเมินความเสื่อมที่เกิดขึ้น
  2. เมื่อความผิดปกติมากหรือชัดเจนเพียงพอ ก็จะเกิดการวินิจฉัยโรค
  3. สุดท้ายจะมีการตรวจต่างๆอีกมากมาย เพื่อดูผลกระทบในวงกว้างของการเจ็บป่วย และความเสี่ยงในการเสียชีวิต เช่น การฉีดสีเพื่อประเมินหลอดเลือดตามที่ต่างๆ ฯลฯ

จะเห็นว่า การตรวจเส้นทางนั้นมีมากมายหลายวิธี โดยความจำเป็นในการตรวจเส้นทางเหล่านี้ นั้นขึ้นอยู่กับระดับความพึงพอใจและการตระหนักต่อสุขภาพของแต่ละบุคคล ร่วมกับผู้ดูแลรักษา โดยให้เกียรติซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้รับการดูแลรักษา ซึ่งเป็นปัจเจกบุคคล

 

หมายเหตุ บทความนี้เป็นมุมมอง เพื่อสร้างความเข้าใจ ป้องกันความเข้าใจผิดหรือการกล่าวอ้างเกินจริงของการตรวจต่างๆ และไม่ได้มีจุดประสงค์เปรียบเทียบว่าการตรวจใดดีกว่า เพราะทุกการตรวจล้วนมีจุดประสงค์เฉพาะตัว

 

ค้นหาทางรอดของการเจ็บป่วยอย่างทรงพลัง ต่อได้ที่ ทางรอดการเจ็บป่วย – บริษัท ดอกเตอร์ทรงพลัง จำกัด

หรือทบทวนถึงลำดับการเจ็บป่วยมากขึ้นได้ที่ ลำดับการเจ็บป่วย – บริษัท ดอกเตอร์ทรงพลัง จำกัด

หรือติดตามบทความของเรา https://www.drsongpalang.com/category/blog/

Facebook Page: https://www.facebook.com/dr.songpalang

สุดท้ายนี้ ทีมงานดอกเตอร์ทรงพลังขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านทรงพลังอย่างยั่งยืน

Verified by MonsterInsights